การกำหนดชื่อยาภาษาไทยทั้ง CUP ใน JHCIS

## ให้ดำเนินการเฉพาะผู้ดูแลระบบ หรือโปรแกรมเมอร์ และควรเป็นข้อตกลงในระดับ CUP นะจ๊ะ ##
ทั้งนี้ ก่อนดำเนินการใดๆ ให้Back Up  JhcisDB เก็บไว้ในที่ปลอดภัยก่อนทุกครั้ง (ถือปฏิบัติโดยเคร่งครัด)
"""""""""""""""""""""****"""""""""""""""""""""
ขั้นตอนการสร้างไฟล์ต้นแบบและการส่งออก ตามนี้
>>> ก่อนอื่นอัพเดด JHCIS ให้เป็น JHCIS-Server-2.5.1-x.25.exe 

1..ให้ รพ.สต.ต้นแบบ 1 แห่ง บันทึกรายชื่อยาภาษาไทยให้สมบูรณ์ที่สุด ดังนี้
 1.1 เข้า ADM -MDA  >>system config >> ยา-เวชภัณฑ์

 1.2.คลิกขวาเลือก "กำหนดชื่อยาฯภาษาไทย"

 1.3.กำหนดชื่อยาภาษาไทยตามข้อตกลงที่ CUP กำหนด

2.สร้างตาราง DTHAI เพื่อให้ รพ.สต.อื่น COPY ไปอัพเดด รายชื่อยาภาษาไทย ด้วย scpt ตามนี้
.............................
Drop TABLE IF EXISTS DTHAI;

CREATE TABLE DTHAI AS (SELECT
cg.drugcode,cg.drugname,cg.drugcode24,
cg.drugnamethai FROM cdrug cg
WHERE cg.drugnamethai IS NOT null);
ALTER TABLE DTHAI ADD PRIMARY KEY (drugcode);
..............................
3.ส่งออกตาราง  DTHAI ตามนี้
 3.1 เข้า JHCISDB (Table) คลิกขวาที่ ตาราง DTHAI เลือก Dump SQL file

3.2 seave ไว้ที่ Desktop

3.3 รอให้ Successfullyเป็นอันจบ

  3.4 copy ไฟล์ DTHAI.SQL ส่งให้ รพ.สต.อื่นได้เลย
>>> คลิกดาวน์โหลดไฟล์ DTHAI.SQL (ตัวอย่าง)<<<

ขั้นตอนการนำเข้าสำหรับ รพ.สต.แห่งอื่นๆ
4.นำไฟล์ DTHAI.SQL มาวางไว้ที่ Desktop เครื่องของตนเอง

 4.1เข้า JHCISDB (Table) คลิกขวาช่องว่าง เลือก Excute SQL file

4.2.Browse ไปที่ desktop เลือก DTHAI.SQL ตามลำดับ (1) - (4)

4.3.รอจนถึง successfully จ้า

4.4 ตรวจสอบ ตารางDTHAI ว่าถูกนำเข้ามาใน JHCISBD ของเราหรือยัง ด้วย Scpt ตามนี้
................................
SELECT *
FROM dthai ORDER BY drugcode;
................................
(ตัวอย่าง)

5.ขั้นตอนการอัพเดด
 5.1 รัน scpt อัพเดด ชื่อยาภาษาไทย ตามนี้
......................................................
UPDATE cdrug cg INNER JOIN dthai ON cg.drugcode24=dthai.drugcode24
set cg.drugnamethai = dthai.drugnamethai WHERE cg.drugcode24=dthai.drugcode24
and (cg.drugnamethai is null or cg.drugnamethai = '');
......................................................
 5.2 หลังจากอัพเดดแล้ว จะมียาบางรายการที่ต้องตามไปแก้ไข เนื่องจาก 24 หลักซ้ำกัน)
ท่านสามารถตรวจสอบรายการยาที่มี 24 หลัก ซ้ำกัน ตามนี้
...................................
SELECT cg.drugcode,cg.drugname,cg.drugtype,COUNT(cg.drugcode24) as 'จำนวนซ้ำ',cg.drugnamethai FROM cdrug cg GROUP BY cg.drugcode24 HAVING cg.drugcode24>1
ORDER BY COUNT(cg.drugcode24)DESC;
...................................
หมายเหตุ :ให้ตามไปแก้ไขเฉพาะ ซ้ำ 2 รายการขึ้นไปนะจ๊ะ
(ตัวอย่าง)

********
ข้อที่ต้องพัฒนา (การอัพเดด ชื่อยาภาษาไทยในระดับ CUP)
1.มีการกำหนดรหัสยา 24 หลัก ใน JHCIS ซ้ำกันตั้งแต่แรก  ดังนั้นให้แก้ไขด้วยการไปกำหนดยา 24 หลักใหม่ ที่ไม่ซ้ำกัน (ตามหลักคือ ยา 1 ตัว ต้องมี 24 หลักเฉพาะห้ามซ้ำกับยาตัวอื่น)
2.ในอนาคต หากกำหนด รหัสยา(Drugcode), ชื่อยา (Drugname), 24 หลัก(drugcode24),ชื่อยาภาษาไทย(drugnamethai) ให้ตรงกันทุกสถานบริการ เมื่อจะปรับปรุง(Update) หรือแก้ไขปัญหา ก็จะเกิดความสะดวก ตรวจสอบได้ง่าย ที่เราเรียกว่า "มาตรฐาน" นั่นหละจ๊า

.................................................๖๖๖๖.......................................
Link ที่เกี่ยวข้อง 


ไม่มีความคิดเห็น:

https://www.blogs

 kllgnsgkj[jtlm'oahd bfldkb'pdojgaojp mfigjdo;sjgaij misjgo;sjagijwo;